เทคนิคการสอบเข้าคณะที่อยากเรียน
สิ่งที่ฉันอยากเป็น คือ สัตวแพทย์
มหาลัยที่อยากเข้า คือ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติความเป็นมาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการ จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ (Faculty of Veterinary Science) เป็นโครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2538-2539) และระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีศาสตราจารย์สมพล พงศ์ไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ฯ และศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539- 16 พฤษภาคม 2541
การดำเนินงานของโครงการจัดตั้งฯ ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตร บัณฑิต (สัตวศาสตร์ประยุกต์) โดยความรับผิดชอบจากคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยา ศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์ประยุกต์) ซึ่งมีอาจารย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป เป็นประธานอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรฯ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้พิจารณารับทราบให้ความเห็นชอบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2541) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 รวมทั้งการดำเนินการขอจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นจนสำเร็จโดยทบวง มหาวิทยาลัย อนุมัติให้จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นสำนักงานคณบดี ตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัยที่ ทม0204(3)/5875 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2540 และได้ประกาศให้เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ในพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 52 ก. ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2540
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2541 ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศ ไทยอยู่ในขณะนั้น มาช่วยราชการในส่วนของการบริหารภายในคณะฯ และได้รับช่วงดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงถือได้ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานเทพ รัตนากร เป็นคณบดีคนแรกของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2542 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้มีนักศึกษาสาขาสัตวแพทยศาสตร์ รุ่นแรก
ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ประกอบด้วยอาคาร ทั้งสิ้น 2 อาคาร คือ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านสัตวศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคาร 9 ชั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารวมถึงสำนักงานคณบดี ด้วย และยังมีอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านคลินิกสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ ประยุกต์ หรือโรงพยาบาลสัตว์เพื่อประโยชน์ในด้านการผฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษาและ บริการทางวิชาการแก่สังคมต่อไป นอกจากนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ยังมีการก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมทางด้านสัตว แพทยศาสตร์ด้านปศุสัตว์และสัตว์ป่า ณ กาญจนบุรี ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นปีพ.ศ. 2546 class in 1999
สัญลักษณ์คณะสัตวแพทยศาสตร์

สีประจำคณะ คือ สีฟ้าหม่น
ปรัชญา ปนิธาน วิสัยทัศน์
ปรัชญา ประสานและประยุกต์วิชาการสัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ และศาสตร์แขนงอื่นๆ อย่างรอบด้านเข้าเป็นหนึ่ง (One Medicine) เพื่อยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม (One Health)
ปณิธาน มุ่งผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ อาจารย์สัตวแพทผ์และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม โดยสามารถประสานและประยุกต์ใช้วิชาการสัตวแพทย์และการแพทย์ เพื่อสนองความต้องการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรชั้นนำและศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับนานาชาติในด้านสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ประยุกต์
พันธกิจ
- พัฒนาระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการขับเคลื่อนสู่การบรรลุวิสัยทัศน์
- เสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้และวิชาการด้านสวัสดิภาพสัตว์ทั้งในและนอกระบบการศึกษาของชาติ
- เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการศึกษาวิจัยด้านสุขภาวะสัตว์ระดับประเทศภายในปี ๒๕๕๕และระดับเอเชียภายในปี ๒๕๕๙
- เป็นผู้ชี้นำสังคมและให้ข้อมูลวิชาการด้านสัตวแพทย์ให้แก่ทุกภาคส่วนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
- ให้การศึกษาต่อเนื่องแก่สัตวแพทย์และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องในประเทศและภูมิภาค
- เป็นศูนย์กลางการตรวจวินิจฉัย วิจัย ติดตาม และเฝ้าระวังโรคสัตว์สู่คนและโรคอุบัติใหม่ อันมีผลต่อการ สาธารณสุขและสุขภาพสัตว์โดยรวม
- เป็นศูนย์รับการส่งต่อทางสัตวแพทย์ เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคสัตว์ในระดับซับซ้อนด้วยบุคลากรที่ทรง ประสิทธิภาพและอุปกรณ์อันทันสมัยแก่สังคม
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก)
2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรีที่มีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตร-บัณฑิตชั้นสูง)
3.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหรือระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท)
4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า(สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต)
/about/106491630-56a0f1453df78cafdaa69f21.jpg)
สโมสรนักศึกษา
มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหน่วยงานเป็นผู้จัดกิจกรรมนักศึกษาทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน (คณะ/วิทยาลัย) หรือเรียกว่า สโมสรนักศึกษา เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมของส่วนงาน และให้ความร่วมมือกับสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และมีหน้าที่หลักในการดูแลและจัดกิจกรรมทั้งปวงของนักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้ความสะดวกแก่การจัดกิจกรรมของชมรมต่าง
ชมรมภายใต้สโมสรนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีทั้งหมด จำนวน 9 ชมรม ดังนี้
1. ชมรมคนรักสัตว์ศาลายา
2. ชมรมกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า
3. ชมรมฝึกสุนัขนิสัยดี
4. ชมรมสัตวแพทย์อาสา
5. ชมรมปลาเป็นว่ายทวนน้ำ
6. ชมรมปลาสวยน้ำใส
7. ชมรมขี่ม้า
8. ชมรมสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
9. ชมรมดนตรี
2. ชมรมกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า
3. ชมรมฝึกสุนัขนิสัยดี
4. ชมรมสัตวแพทย์อาสา
5. ชมรมปลาเป็นว่ายทวนน้ำ
6. ชมรมปลาสวยน้ำใส
7. ชมรมขี่ม้า
8. ชมรมสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
9. ชมรมดนตรี

การจักการศึกษา
❄ ชั้นปีที่ 1 การจัดการศึกษาระดับเตรียมสัตวแพทย์ ครอบคลุมเนื้อหากลุ่มวิชา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา และรายวิชาด้านการพัฒนามนุษย์
❄ ชั้นปีที่ 2-3 การจัดการศึกษาระดับปรีคลินิก ครอบคลุมเนื้อหาพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ประกอบด้วย การเรียนการสอนและปฏิบัติในกลุ่มวิชาโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย ชีวเคมี พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา เภสัชวิทยา พิษวิทยา ปรสิตวิทยา สัตวศาสตร์ รวมถึง ระเบียบวิธีวิจัยและการแก้ปัญหาทางคลินิกและบูรณาการทางการสัตวแพทย์
❄ ชั้นปีที่ 4-5 การจัดการศึกษาระดับคลินิก ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเจตคติในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาทั้งทางด้านอายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์ สัตวแพทย์สาธารณสุข กฎหมาย และจรรยาบรรณ
❄ ชั้นปีที่ 6 การจัดการเรียนการสอนคลินิกปฏิบัติ ครอบคลุมการฝึกคลินิกปฏิบัติในทุกชนิดสัตว์ ประกอบด้วย สัตว์เล็ก สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ม้า สุกร และคลินิกปฏิบัติสัตวแพทย์สาธารณสุข รวมไปถึงการทำโครงการวิจัย

หลักสูตรระดับปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
Doctor of Veterinary Medicine Program
ชื่อปริญญา : สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
Doctor of Veterinary Medicine (D.V.M.)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 244 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 6 ปีการศึกษา
ชื่อปริญญา : สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
Doctor of Veterinary Medicine (D.V.M.)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 244 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 6 ปีการศึกษา
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยสามารถประสานและประยุกต์วิชาการสัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์และศาสตร์แขนงอื่น ๆ อย่างรอบด้านเข้าเป็นหนึ่ง (one medicine) เพื่อยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม (one health)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณ วิสัยทัศน์กว้างไกล มนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวร่วมงานกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบวิชาชีพและสังคม
2. มีความรู้ และความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์ ได้แก่ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกัน และการควบคุมโรคสัตว์และโรคระบาดสัตว์ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และนิเวศของสัตว์ป่าและสัตว์สวนสัตว์ ตลอดจนการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโรคระบาดสัตว์ที่มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ
2.2 ด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข ได้แก่ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน การควบคุมคุณภาพผลิตผลจากสัตว์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและการส่งออก
2.3 ด้านอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงและการจัดการ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์ธุรกิจการผลิตและการจัดการปศุสัตว์เชิงเศรษฐศาสตร์
2.4 ด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ได้แก่ การผลิตเคมีภัณฑ์ ชีวภัณฑ์ และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ รวมทั้งความเข้าใจถึงระบบการผลิตและพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์ในรูปแบบอุตสาหกรรม ระบบการผลิต การควบคุมคุณภาพ การทดสอบชีวภัณฑ์ รวมทั้งการควบคุมและการใช้เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์และอาหารสัตว์
3. สามารถศึกษาและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์เพื่อการบริโภคและการผลิตสัตว์เพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์ และการวินิจฉัยการรักษา การป้องกันและการกำจัดโรคระบาดสัตว์ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาการผลิตสัตว์ และแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การค้นคว้าข้อมูลและติดตามวิทยาการใหม่ ๆ นำไปใช้ในงานวิจัยในการผลิต และการจัดการผลผลิต ตลอดจนการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและต่างประเทศทั้งในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจ
โดยสามารถประสานและประยุกต์ความรู้ ความสามารถด้านสัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพสัตว์และการสาธารณสุขของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
Program Title : Doctor of Veterinary Medicine Program
Name of Degree : Doctor of Veterinary Medicine (D.V.M.)
- โครงสร้างหลักสูตร
- วิชาเฉพาะหรือวิชาชีพ 209 หน่วย
- วิชาเลือก 6 หน่วย
รวมทั้งหมด 245 หน่วย ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 6 ปี
- หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
- ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์คลินิก(หลักสูตรนานาชาติ) Graduate Diploma Program in Clinical Veterinary Science (International Program)
- ระดับปริญญาโท
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) Master of Science Program in Veterinary Biomedical Sciences (International Program)
เปิดสอน 3 วิชาเอก ดังนี้
1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์การวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ (Veterinary Diagnostic Sciences)
2. วิชาเอกเวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข (Applied Veterinary Biomedical Sciences and Veterinary Public Health)
3. วิชาเอกการจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า (Zoo Animal and Wildlife Health Managements)
- ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) Doctor of Philosophy Program in Veterinary Science (International Program)
1.ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2.นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3.อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุปไม่เปิดหนังสือ
4.เช็คคำตอบ
5.อ่านอีกหนึ่งรอบ
6.สรุปใหม่เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7.ถ้าทำเป็นMind Mappingจะอ่านง่ายขึ้น
8.มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9.ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆอย่างน้อย 2ครั้ง/คาบ
10.ก่อนวันสอบห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเทียงคืน สมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
2.นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3.อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุปไม่เปิดหนังสือ
4.เช็คคำตอบ
5.อ่านอีกหนึ่งรอบ
6.สรุปใหม่เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7.ถ้าทำเป็นMind Mappingจะอ่านง่ายขึ้น
8.มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9.ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆอย่างน้อย 2ครั้ง/คาบ
10.ก่อนวันสอบห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเทียงคืน สมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
อ้างอิง
http://www.vs.mahidol.ac.th/th/index.php/aboutus
http://www.vs.mahidol.ac.th/th/index.php/vs-admissions/qualifications
http://www.vs.mahidol.ac.th/th/index.php/how-to-vet#%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
http://www.vs.mahidol.ac.th/th/index.php/how-to-vet#%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
http://www.vs.mahidol.ac.th/th/index.php/bachelor-degree
http://www.unigang.com/Article/871
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5#%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5#/media/File:LogoVS.png
https://www.tes.com/lessons/kOtOF7GrfNGf-Q/career-cluster-1-sally-goes-to-the-vet
http://www.vettech.ku.ac.th/vtfis/
http://www.vet.psu.ac.th/2017/index.php/categories/general-news/vet-pr-bilateral-mastectomy