วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Python


โปรแกรม Python


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ประวัติ Python


          ภาษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบอินเทอร์พรีเตอร์ ที่สร้างโดย กีโด ฟาน รอสซัม (Guido van Rossum) ในพ.ศ. 2533 ปัจจุบันดูแลโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน

จุดเด่นของภาษาไพทอน


          ไพทอนเป็นภาษาสคริปต์ ทำให้ใช้เวลาในการเขียนและคอมไพล์ไม่มาก ทำให้เหมาะกับงานด้านการดูแลระบบ (System administration) เป็นอย่างยิ่ง ได้มีการสนับสนุนภาษาไพทอนโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์, ลินุกซ์ และสามารถติดตั้งให้ทำงานเป็นภาษาสคริปต์ของวินโดวส์ ผ่านระบบ Windows Script Host ได้อีกด้วย และ Python เองก็ได้ถูกนำมาพัฒนา Web application อย่างแพร่หลาย ซึ่งมี Framework สำหรับทำเว็บของ Python ที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ Django

ไวยากรณ์อ่านง่าย


    ไวยากรณ์ของไพทอนได้กำจัดการใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแบ่งบล็อกของโปรแกรม และใช้การย่อหน้าแทน ทำให้สามารถอ่านโปรแกรมที่เขียนได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนการเขียน docstring ซึ่งเป็นข้อความสั้นๆ ที่ใช้อธิบายการทำงานของฟังก์ชัน, คลาส, และโมดูลอีกด้วย

 ความเป็นภาษากาว


         ไพทอนเป็นภาษากาว (Glue Language) ได้อย่างดีเนื่องจากสามารถเรียกใช้ภาษาโปรแกรมอื่นๆ ได้หลายภาษา ทำให้เหมาะที่จะใช้เขียนเพื่อประสานงานโปรแกรมที่เขียนในภาษาต่างกันได้

ไลบรารีในไพทอน


         การเขียนโปรแกรมในภาษาไพทอนโดยใช้ไลบรารีต่าง ๆ เป็นการลดภาระของโปรแกรมเมอร์ได้เป็นอย่างดี ทำให้โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องเสียเวลากับการเขียนคำสั่งที่ซ้ำๆ เช่นการแสดงผลข้อมูลออกสู่หน้าจอ หรือการรับค่าต่าง ๆ

      ไพทอนมีชุดไลบรารีมาตรฐานมาให้ตั้งแต่ติดตั้งอินเตอร์พรีเตอร์ นอกจากนั้นยังมีผู้พัฒนาจากทั่วโลกดำเนินการพัฒนาไลบรารีซึ่งช่วยอำนวยความ สะดวกในด้านต่าง ๆ โดยจะเผยแพร่ในรูปแบบของแพ็คเกจต่าง ๆ ซึ่งสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้อีกด้วย
สุดท้าย คือ ภาษาไพทอน ทำงานเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับภาษา script ด้วยกัน เช่น php, jsp, asp จะพูดว่า ไพทอน เขียนน้อยได้งานมาก ทำงานเร็วก็ไม่ผิดนัก

ขั้นตอน วิธีการติดตั้ง ไพธอน Python 3.2 บน Windows XP - Install Python


python (ไพธอน) เป็น Programming language แบบเดียวกับ PHP คือ เป็นภาษาโปรแกรมแบบอินเทอร์พรีเตอร์

ขั้นตอนการติดตั้ง ไพธอน ( Python 3.2 บน Windows XP )


1. ดาวน์โหลดไฟล์ ติดตั้ง ของ ไพธอน

หน้าดาวน์โหลด Python


2. จะได้ไฟล์ python-3.2.3.msi ซึ่งมีขนาดประมาณ 17Mb ใช้สำหรับการติดตั้ง ให้ ดับเบิ้ลคลิก เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้ง ดังรูป

Pre install หน้าจอเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง Python

                                             ให้เลือก Install for all users แล้วคลิก Next >

3. จะเข้าสู่หน้าจอเลือก Path ในการติดตั้ง ดังรูป 

จะเข้าสู่หน้าจอเลือก Path ในการติดตั้ง


                                           ในที่นี่นี้เลือก C:\Python32 แล้วคลิก Next >

4. จะเข้าสู่หน้าจอ เลือก Features ในการติดตั้ง ในที่นี้จะเลือกตั้งหมดตามค่ามาตรฐาน แล้วคลิก Next > 
5. รอจนติดตั้งเสร็จคลิก จะได้หน้าจอดังรูป

ติดตั้ง Python สำเร็จ

คลิก ปุ่ม Finish ก็เสร็จขั้นตอนการติดตั้ง

เสร็จแล้ว ลองเข้าไปที่ Start >> Program >> Python3.2 จะได้หน้าจอ

เมนูต่างๆ ของ Python เมื่อติดตั้งสำเร็จ


ลองคลิกเข้าไปที่ เมนู IDLE จะมีหน้าต่างๆ Python Shell ขึ้นมา ซึ่ง IDLE จะเป็นทั้งเครื่องมือสำหรับเขียน และ แปลภาษาของ Python 
ลง พิมพ์ข้อความ print('Hello Midphp');
แล้ว กด Enter จะได้ข้อความ Hello Midphp แสดงว่า Python


ตัวแปร และ คำสงวน ในไพทอน 

Python ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปรก่อนใช้งาน สามารถกำหนดค่าขึ้นมา และเรียกใช้ได้เลย แต่การตัวชื่อตัวแปรของ ไพทอนต้องเป็นไปตามกฏดังนี้

  1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป
  2. ตัวแปรห้ามมีช่องว่าง
  3. ห้ามมีสัญลักษณ์พิเศษเช่น #,?,$,...  (คนที่เขียน PHP มาอย่าลงไปใส่ $ เข้านะครับ)
  4. ตัวแปรต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน ดูคำสงวนได้ท้ายบทความนี้
  5. ตัวแปรใช้ตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ มีึความหมายต่างกัน (case-sensitive แบบเดียวกับ PHP)

ชนิดข้อมูลของไพทอน ไพทอนมีชนิดข้อมูลพืนฐานอยู่ 5 ชนิดดังนี้

  • Numbers เก็บข้อมูลตัวเลข
  • String เก็บข้อมูลตัวอักษร
  • List เก็บข้อมูลได้มากว่า 1 ค่าใน 1 ตัวแปร หรือที่เรียกว่า compound type
  • Tuple อ่านว่า "ทูเพิล" เก็บข้อมูลได้มากว่า 1 ค่าใน 1 ตัวแปร ใช้สำหรับเก็บลำดับ หรือที่เรียกว่า sequence type
  • Dictionary เก็บข้อมูลได้มากว่า 1 ค่าใน 1 ตัวแปรเช่นกัน หรือที่เรียกว่า table type เทียบได้กับตัวแปร array ใน php
  คำสงวน ในภาษาไพทอน
and, as, assert, break, class, continue, def, del, elif, else, except, exec, finally, for, from, global, if, import, in, is, lambda, not, or, pass, print, raise, return, try, while, with, yield 

ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการใน Python Operators Precedence

ในตารางจะแสดง operators ทั้งหมดของ ไพทอน ลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย

OperatorDescription
**ยกกำลัง
~ + -Ccomplement, unary plus and minus
* / % //คูณ, หาร, modulo and floor division
+ -บวก, ลบ
>> <<Right and left bitwise shift
&Bitwise 'AND'
^ |Bitwise exclusive `OR' and regular `OR'
<= < > >=Comparison operators
<> == !=Equality operators
= %= /= //= -= += *= **=Assignment operators
is is notIdentity operators
in not inMembership operators
not or andLogical operators
นอกจากในตารางแล้วยังมีตัวดำเนินการที่มีลำดับความคำคัญสูงสุดคือ "(...)"
ตัวอย่าง


a=2
b=3
c=4
print(a**b+c)

มีค่าเท่ากับ


print (2*2*2+4);
จะได้ผลลัพท์ เป็น 12 

ตัวดำเนินการใน Python operator

ตัวดำเนินการ คืออะไร ?  ตัวดำเนินการ (operator) คือถ้าพูดง่ายๆ คือเครื่องหมายที่ไว้จัดการ กับตัวแปร ตัวอย่างเช่น 
a=5
b=6
a+b=11
ตัวดำเนินการคือเครื่องหมาย "+" 

สำหรับตัวดำเนินการในภาษาไพทอนมีดังนี้
  • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)
  • ตัวดำเนินการเปรีบเทียบ (Comparision Operators)
  • ตัวดำเนินการทางตรรกะ ( Logical (or Relational) Operators)
  • ตัวดำเนินการกำหนดค่า (Assignment Operators)
  • ตัวดำเนินการระดับบิท (Bitwise Operators)
  • ตัวดำเนินการสมาชิก (Membership Operators)
  • ตัวดำเนินการตรวจสอบเงื่อนไข (Conditional (or ternary) Operators)

ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์


สมมุติ 
a มีค่า 10 
b มีค่า 20

ตัวดำเนินการอธิบายตัวอย่าง
+บวกa + b มีค่า 30
-ลบa - b มีค่า -10
*คูณa * b มีค่า 200
/หารb / a มีค่า 2
%เศษของการหารb % a มีค่า 0
**ยกกำลังa**b หมายถึง 10 ยกกำลัง 20
//หารปัดเศษทิ้ง9//2 is มีค่า 4 และ 9.0//2.0 มีค่า 4.0

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ


ตัวดำเนินการอธิบายตัวอย่าง
==เช็คว่าค่าสองค่าเท่ากันหรือไม่(a == b) เป็นเท็จ
!=เช็คว่าค่าสองค่าไม่เท่ากันหรือไม่(a != b) เป็นจริง
<>เช็คว่าค่าสองค่าไม่เท่ากันหรือไม่(a <> b) เป็นจริง. เหมือนกับตัวดำเนินการ !=
>เช็คว่าค่าทางซ้ายมากกว่าค่าทางขวาหรือไม่(a > b) เป็นเท็จ
<เช็คว่าค่าทางซ้ายน้อยกว่าค่าทางขวาหรือไม่(a < b) เป็นจริง
>=เช็คว่าค่าทางซ้ายมากกว่าหรือเท่ากับค่าทางขวาหรือไม่(a >= b) เป็นเท็จ
<=เช็คว่าค่าทางซ้ายน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าทางขวาหรือไม่(a <= b) เป็นจริง.

ตัวดำเนินการกำหนดค่า


ตัวดำเนินการอธิบายตัวอย่าง
=ตัวแปรทางซ้ายถูกกำหนดให้มีค่าเท่ากับทางขวาc = a + b เป็นการกำหนดค่าให้กับ c  โดยให้มีค่าเท่ากับ a + b
+=บวกค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc += a  หมายความว่า c = c + a
-=ลบค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc -= a หมาความว่า c = c - a
*=คูณค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc *= a หมาความว่า c = c * a
/=หารค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc /= a หมาความว่า c = c / a
%=หารเอาเศษค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc %= a หมาความว่า c = c % a
**=ยกกำลังค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc **= a หมาความว่า c = c ** a
//=หารปัดเศษทิ้งค่าของทางซ้ายด้วยค่าทางขวาc //= a หมาความว่า c = c // a

ตัวดำเนินการทางตรรกะ


ตัวดำเนินการอธิบายตัวอย่าง
andand เช็คว่าทั้งสองตัวเป็นจริงถึงจะคืนค่าจริง กรณีอื่นๆเป็น เท็จทั้งหมด(a and b) เป็นจริง.
oror ถ้าทั้งสองตัวหนึ่งเป็นเท็จจะคืนค่า เท็จ กรณีอื่นๆ เป็นจริงทั้งหมด(a or b) เป็นจริง.
notคืนค่าตรงกันข้ามของค่าปัจจุบันnot(a and b) เป็นเท็จ เพราะ a and b เป็นจริง.

ตัวดำเนินการสมาชิก

ตัวดำเนินการสมาชิกเป็น ตัวดำเนินการพิเศษของภาษา Python จะไม่พบในภาษาอื่น ไว้สำหรับเช็คว่า ค่าที่เรากำลังสนใจเป็นสมาชิกของตัวแปรนั้นๆ หรือไมจะคืนค่าเป็น จริงหรือเท็จแล้วแต่กรณีใช้กับ such as strings, lists, or tuple
ตัวดำเนินการอธิบายตัวอย่าง
inจะคืนค่าเป็นจริงถ้า พบค่าในตัวแปรที่เราสนใจ ในกรณีอื่นเป็นเท็จทั้งหมดx in y, คือค่าเป็น 1 ถ้า x เป็นสมาชิกของ y.
not inจะคืนค่าเป็นจริงถ้าไม่พบค่าในตัวแปรที่เราสนใจ ในกรณีอื่นเป็นเท็จทั้งหมดx not in y, คือค่าเป็น 1 ถ้า x ไม่เป็นสมาชิกของ y
นอกจากนี้ Python ยังมี  Identity Operators เพื่อเช็คว่ามีตัวแปรที่ต้องการทราบอยู่ใน memory หรือเปล่า คือ is และ not is


ตัวแปรชนิดลิสในไพทอน เป็นตัวแปรที่เป็น compound data type 

คือตัวแปร 1 ตัวเก็บค่าได้มากกว่าหนึ่งค่าเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย (คล้ายๆ ตัวแปร array ในภาษา php) 
การกำหนดค่าสมาชิกแต่ละตัวของ ตัวแปรลิส ต้องอยู่ในเครื่องหมาย [...]
ตัวอย่างเช่น Lists.py



var_list = [ 'abcd', 123 , 1.23, 'Mindphp.com', 20.2 ]
var_tinylist = [123, 'mindphp']

print (var_list)          # แสดงค่าทั้งหมดในตัวแปร var_list
print (var_list[0])       # แสดงรายการแรกของตัวแปร var_list
print (var_list[1:3])     # แสดงรายการที่ สอง ถึงสามรายการถัดไป 
print (var_list[2:])      # แสดงรายการที่สามถึง สุดท้าย
print (var_tinylist * 2)  # แสดงรายการทั้งหมดของตัวแปร var_tinylist สองครั้ง
print (var_list + var_tinylist) # แสดงรายการทั้งหมดของ var_list, var_tinylist ร่วมกัน
ผลที่ได้
['abcd', 123, 1.23, 'Mindphp.com', 20.2]
abcd
[123, 1.23]
[1.23, 'Mindphp.com', 20.2]
[123, 'mindphp', 123, 'mindphp']
['abcd', 123, 1.23, 'Mindphp.com', 20.2, 123, 'mindphp']


ทูเปิลเป็นตัวแปรที่เก็บข้อมูลแบบลำดับ (sequence data type) คล้ายๆ กับ ตัวแปรชนิดลิส ทูเปิลจะเก็บค่าของสมาชิกแต่ละตัวไว้ใน เครื่องหมาย (...,...,...)
ตัวอย่าง Tuples.py

var_tuples = ( 'abcd', 123 , 1.23, 'Mindphp.com', 20.2 )
var_tinytuples = (123, 'mindphp')

print (var_tuples)          # แสดงค่าทั้งหมดในตัวแปร var_tuples
print (var_tuples[0])       # แสดงรายการแรกของตัวแปร var_tuples
print (var_tuples[1:3])     # แสดงรายการที่สอง ถึง สามรายการถัดไป 
print (var_tuples[2:])      # แสดงรายการที่สาม ถึง สุดท้าย
print (var_tinytuples * 2)  # แสดงรายการทั้งหมดของตัวแปร var_tuples สองครั้ง
print (var_tuples + var_tinytuples) # แสดงรายการทั้งหมดของ var_tuples, var_tinytuples รวมกัน

ผลที่ได้ 
('abcd', 123, 1.23, 'Mindphp.com', 20.2)
abcd
(123, 1.23)
(1.23, 'Mindphp.com', 20.2)
(123, 'mindphp', 123, 'mindphp')
('abcd', 123, 1.23, 'Mindphp.com', 20.2, 123, 'mindphp')


Tuples เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วเราไม่สามารถเพิ่มค่าให้ตัวแปรได้ 
เช่น ได้เช่น ตามตัวอย่าง ตัวแปร var_tuples มี index ทั้งหมด 5 ตัว 
เราไม่สามารถ 
var_tuples[6] = ' My Var' # ไม่สามารถทำได้ จากต่างจาก List ที่สามารถกำหนด ค่าใหม่ให้กับ index เดิม ได้

ตัวแปรชนิดดิกชันนารี ใน ไพทอน Python Dictionary Data type


ตัวแปรชนิดดิกชันนารี ในไพทอน ดิกชันนารีในไพทอนเรียกได้ว่าเป็น hash table type คล้ายกับ ตัวแปร array ใน php และ hash ใน ภาษา Perl มาก คือจะมี key และ value คู่กันไปเสมอ key สามารถ เอา data type อะไรของ ไพทอนมากำหนด ก็ได้ แต่แนะนำว่าใช้ แค่ string และ numbers จะดีกว่า ตัวแปร ดิกชันนารี ถ้ากำหนดค่าให้อยู่ในเครื่องหมาย curly braces " {...}"  และ key จะถูกกำหนดอยู่ในเครื่องหมาย square braces "[]"

ตัวอย่าง Dictionary.py


var_dict = {}
var_dict['one'] = "This is one"
var_dict[2]     = "This is two"

var_tinydict = {'one': 'This is one ของ var_tinydict', 2:'This is two ของ var_tinydict', 'dept': 'sales'}

print (var_dict)              # แสดงค่าทั้งหมดของ var_dict
print (var_dict['one'])       # แสดงเฉพาะ key "one" ของ ตัวแปร var_dict
print (var_dict[2])           # แสดงเฉพาะ key "2" ของ ตัวแปร var_dict
print ( var_dict.keys() )     # แสดง key ทั้งหมดของ ตัวแปร var_dict
print ( var_dict.values())    # แสดง values ทั้งหมดของ var_dict

print ('---------------------------')

print (var_tinydict)              # แสดงค่าทั้งหมดของ var_dict
print (var_tinydict['one'])       # แสดงเฉพาะ key "one" ของ ตัวแปร var_dict
print (var_tinydict[2])           # แสดงเฉพาะ key "2" ของ ตัวแปร var_dict
print ( var_tinydict.keys() )     # แสดง key ทั้งหมดของ ตัวแปร var_dict
print ( var_tinydict.values())    # แสดง values ทั้งหมดของ var_dict 

ผลที่ได้ 
{2: 'This is two', 'one': 'This is one'}
This is one
This is two
dict_keys([2, 'one'])
dict_values(['This is two', 'This is one'])
---------------------------
{'dept': 'sales', 2: 'This is two ของ var_tinydict', 'one': 'This is one ของ var_tinydict'}
This is one ของ var_tinydict
This is two ของ var_tinydict
dict_keys(['dept', 2, 'one'])
dict_values(['sales', 'This is two ของ var_tinydict', 'This is one ของ var_tinydict'])

วีดิโอการเขียนโปรแกรม Python



 โค้ดของ Python

 ถูกสร้างขึ้นมาจากภาษาซี การประมวลผลจะทำในแบบอินเทอร์พรีเตอร์ คือจะประมวลผลไปทีละบรรทัดและปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับ Python เวอร์ชันแรกคือ  เวอร์ชัน 0.9.0 ออกมาเมื่อปี 2533 และเวอร์ชันปัจจุบันคือ 3.5
    คุณลักษณะเด่นของภาษา Python
    1.สนับสนุนแนวแบบคิดออปเจกต์โอเรียนเทด หรือ OOP (Object Oriented Programming)
    2.เป็น Open Source
    3.โค้ดที่เขียนด้วย Python สามารถนำไปรันบนระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย
    4.สนับสนุนเทคโนโลยี COM ของ Ms-windows
    5.Python รวมมาตรฐานการอินเตอร์เฟส Tkinter ซึ่งสนับสนุนบนระบบ X windows, Ms-windows และ Macintosh การใช้คำสั่ง Tkinter API ช่วยให้โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องแก้ไขโค้ดเมื่อนำไปรันบนระบบปฏิบัติการอื่นๆ
    6.เป็น Dynamic typing คือ สามารถเปลี่ยนชนิดข้อมูลได้ง่ายและสะดวก
    7. มี Buil-in Object Types คือ โครงสร้างของข้อมูลที่สามารถใช้ได้ใน Python ประกอบด้วย ลิสต์, ดิกชันนารี, สตริง ที่ง่ายต่อการใช้งานและมีประสิทธิภาพสูง
    8.มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย เช่น การประมวลผลเท็กซ์ไฟล์ การเรียงข้อมูล การเชื่อต่อสตริง การตรวจสอบเงื่อนไขของข้อความ การแทนคำ เป็นต้น
    9.มีมอดูลสำหรับจัดการ Regular Expresion
    10.มีมอดูลที่สร้างขึ้นจากนักพัฒนาสนับสนุนมากมาย ได้แก่ COM, Image, CORBA, ORBs, XML เป็นต้น
    11.จัดการหน่วยความจำอย่างอัตโนมัติ สามารถจักการพื้นที่หน่วยความจำที่ไม่ต่อเนื่องให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    12.อนุญาตให้ฝังชุดคำสั่งของ Python เอาไว้ภายในโค๊ดภาษา C/C++ ได้
    13.อนุญาตให้โปรแกรมเมอร์สร้าง Dynamic Link Libray (DLL) เพื่อใช้ร่วมกับ Python
    14.มีมอดูลสนับสนุนเกี่ยวกับเน็ตเวิร์ก โปรเซส เธรด regular, expression, xml, GUI และอื่นๆ
    15ประกอบด้วยมอดูลสำหรับสร้าง Internet Script และติดต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่าน Sockets, และทำหน้าที่เป็น CGI Script ตรอดจนใข้งานคำสั่ง FTP , Glopher, XML และอื่นๆอีกมาก
    16.สามารถประมาลผมทางด้านวิยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    17.มีฟังก์ชันสนับสนุนฐานข้อมูล เช่น MySQL, Sybase, Oracle , Informix, ODBC และอื่นๆ
    18.มีไลบรารีสนับสนุนด้านการสร้างภาพกราฟฟิก เช่น ทำภาพเบลอ หรือภาพชัด หรือเขียนข้อความบนภาพ ตลอดจนบันถึกไฟล์ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
    19.มีไลบรารีสนับสนุนด้านปัญยาประดิษฐ์
    20.มีไลบรารีสำหรับสร้างเอกสาร PDF โดยไม่ต้องติดตั้ง Acrobat Writer
    21.มีไลบรารีสำหรับสร้าง Shockwaves Flash (SWF) โดยไม่ต้องติดตั้ง Macromedia Flash
อ้างอิง
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2393-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2-python-%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%99.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2378-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-python.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2395-python-variable.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2398-python-operator.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2399-operators-precedence.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2401-lists-data-type.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2402-python-tuples-data-type.html
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/83-python/2403-dictionary-data-type.html
https://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2417-python-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
https://www.youtube.com/watch?v=LQruybKFFAA





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Technology

Technology แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในยุค Education4.0 ในปัจจุบันสังคมไทยยังเป็นสังคมบริโภคนิยม ซื้อกินซื้อใช้ ไม่ผลิตหรือสร้างอะไ...